กีฬามวยไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน

กีฬามวยไทย เมื่อพูดถึงกีฬาแห่งการต่อสู้แล้ว ถือเป็นกีฬาอันดับต้นๆที่คนจะนึกถึง จากอดีตถึงปัจจุบัน มวยถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนมาช้านาน จากการต่อสู้ทั้งเพื่อโจมตี และป้องกันตนเอง พัฒนาตามกาลเวลาจนเปลี่ยนมาเป็นกีฬาเพื่อการแข่งขัน มวยไม่ใช่เพียงแค่การต่อสู้กันอย่างอุดตะลุด แต่มวยมีกระบวนท่า มีการออกอาวุธ โดยเฉพาะมวยไทยที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในกระบวนท่าต่างๆซึ่งทำให้มวยไทยของเรานั้นแตกต่างกับการต่อสู้อย่างคนทะเลาะกันทั่วไป และด้วยกระบวนท่านี่เองที่ทำให้มวยไทยมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกับการต่อสู้ของชาติอื่นๆ ในอดีตนั้นมวยที่ต่อสู้กันทั่วถือเป็นมวยโบราณในปัจจุบัน คือเป็นมวยที่ไม่มีกฏกติกา อาจมีการต่อสู้กันจนเสียเลือด เสียเนื้อ หรือถึงขั้นเสียชีวิต  มวยนับเป็นการต่อสู้เพื่อใช้ในการป้องกันตนเอง และเพื่อต่อสู้กับศัตรู ก่อนที่จะมีอาวุธต่างๆ มวยถือเป็นอาวุธแรกที่ทหารจะต้องฝึกฝน โดยมีการฝึกสอนภายในราชสำนัก และได้รับความนิยมมีผู้นำวิชามวยออกมาฝึกสอนกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ สำหรับชาวบ้านทั่วไปนั้นสถานที่ที่จะฝึกมวยอย่างมีวิชา มีครูมวยได้นั้นก็คือตามวัดวาอารามนั่นเอง

กีฬามวยไทย

มวยได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องตามแต่ละยุคสมัย จากศาสตร์แห่งการต่อสู้ชั้นสูงในราชสำนักตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยาที่มีการจัดตั้งกรมมวยขึ้น ทำให้มีการฝึกมวยกันอย่างแพร่หลาย มีการตั้งสำนักมวยต่างๆขึ้นตามหมู่บ้าน เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงธนบุรี มวยก็ไม่ได้เสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อการต่อสู้ มวยก็เริ่มมีบทบาทในแง่ของมหรสพเพื่อความบันเทิง มีการจัดกายแข่งขันชกมวยตามงานบุญ งานรื่นเริงต่างๆ รวมถึงการเก็บภาษีมวยด้วยสำหรับมวยในอดีตนั้น ไม่ได้มีกฎกติกาตายตัว โดยมากแล้วจะสู้กันจนกว่าจะยอมกันไปข้างหนึ่ง แต่ปัจจุบัน เมื่อมวยเปลี่ยนสถานะจากการต่อสู้มาเป็นกีฬา จึงมีการตั้งกฏกติกาเพื่อให้มีมาตรฐานทางกีฬามากยิ่งขึ้น โดยมีกฏต่างๆ ยิ่บย่อยมากมายเพื่อกำหนดให้กีฬามวยมีมาตรฐานเดียวกัน เริ่มตั้งแต่สังเวียนมวยที่กำหนดให้มีลักษณะเป้นสี่เหลี่ยมจตุรัส มีการกำหนดขนาดมาตรฐานคือ ด้านละ 6.10 เมตร สำหรับเวทีมวยขนาดเล็ก และ 7.30 เมตร สำหรับเวทีมวยขนาดใหญ่ และจะต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 3 ฟุต แต่จะต้องไม่เกิน 4 ฟุต

กีฬามวยไทย

นอกจากนี้มวยไทยในปัจจุบันยังมีการแบ่งรุ่นการชกของนักมวย ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ไม่มีการจำกัดรุ่นอายุ ใครจะต่อสู้กับใครก็ได้  สำหรับมวยไทยนั้นมีการแบ่งรุ่นออกเป็น 19 รุ่น เชื่อว่าหลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วเราจะสามารถแบ่งนักมวยออกเป็นรุ่นต่างๆได้อย่างเรา การแบ่งนักมวยออกเป็นรุ่นต่างๆก่อนที่จะขึ้นชกนั้น จะแบ่งออกตามน้ำหนักได้ดังนี้

  1. รุ่นพินเวท น้ำหนักต้องเกิน 93 ปอนด์ (42.272 กิโลกรัม) และไม่เกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม)
  2. รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 100 ปอนด์ (45.454 กิโลกรัม) และไม่เกิน 105ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม)
  3. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 105 ปอนด์ (47.727 กิโลกรัม) และไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม)
  4. รุ่นฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 108 ปอนด์ (48.988 กิโลกรัม) และไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม)
  5. รุ่นซูปเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักต้องเกิน 112 ปอนด์ (50.802 กิโลกรัม) และไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม)
  6. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม)
  7. รุ่นซูปเปอร์เบนยตั้มเวท น้ำหนักต้องเกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) และไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม)
  8. รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 122 ปอนด์ (55.338 กิโลกรัม) และไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม)
  9. รุ่นซูเปอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม)
  10. รุ่นไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม)
  11. รุ่นซูปเปอร์ไลท์เวท น้ำหนักต้องเกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม)
  12. รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) และไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม)
  13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักต้องเกิน 147 ปอนด์ (66.678 กิโลกรัม) และไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม)
  14. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (71575 กิโลกรัม)
  15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักต้องเกิน 160 ปอนด์ (71.575 กิโลกรัม) และไม่เกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม)
  16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 168 ปอนด์ (76.374 กิโลกรัม) และไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม)
  17. รุ่นครุยเซอเวท น้ำหนักต้องเกิน 175 ปอนด์ (79.379 กิโลกรัม) และไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม)
  18. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 190 ปอนด์ (86.183 กิโลกรัม) และไม่เกิน 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม)
  19. รุ่นซูเปอร์เฮวี่เวท น้ำหนักต้องเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป (90.900 กิโลกรัมขึ้นไป)

โดยนักมวยที่จะขึ้นชก จะต้องตรวจร่างกาย และช่างน้ำหนัก ในช่วงเช้าของวันแรกในการแข่งขัน

กีฬามวยไทย

ในการชกเพื่อการแข่งขันมวยไทยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ยก ด้วยกัน โดยแต่ละยก จะกำหนดเวลาขึ้นชก คือ 2 นาที และมีการพักระหว่างยก 1 นาที และสำหรับนักมวยหญิง เวลาพักระหว่างยก จะเพิ่มเป็นสองนาที แลละนี่ก็ถือเป็นอีกข้อแต่กต่างของมวยที่ได้รับการพัฒนามาตามช่วงเวลาต่างๆ มวยไม่ใช่แค่การต่อสู้ของผู้ชายอีกต่อไป แต่ยังเป็นกีฬาที่ผู้หญิงก็สามารถมีส่วนร่วมได้อีกด้วย ในการแข่งขันนั้น นักมวยจะต้องมีพี่เลี้ยง 2 คน หนึ่งในสองคนนั้นสามารถเข้าไปสังเวียนชกเพื่อคอยดูแล แนะนำ และช่วยเหลือนักกีฬา โดยสามารถให้คำแนะนำ หรือบอกผลการต่อสู้ แต่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัดด้วย

กีฬามวยไทย

ในการแข่งขันจะมีผู้ตัดสิน 5 คน ในการแข่งขันระดับเล็ก ที่ไม่เคร่งมาตรฐานมากนักสามารถมีผู้ตัดสิน 3 คนได้ แต่ผลการตัดสินก็จะไม่ถูกนับว่าเป้นการตัดสินที่ได้มาตรฐานสากล จากการต่อสู้ที่ไม่มีกฏกติกา พัฒนามาเป็นกีฬามวยไทยที่มีมาตรฐานสากล และยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องไม่แตกต่างจากในอดีต กีฬามวยไทยถือเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ไม่เคยเสื่อมความนิยม และผู้คนยังคงให้ความสนใจต่อเนื่องเสมอมา