“มวย” เป็นมรดกวัฒนธรรมของคนไทย ที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานาน (ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเกิดขึ้นครั้งแรกตอนไหน รัชกาลที่เท่าไหร่) ซึ่งเป็นได้ทั้งศิลปะการต่อสู้-ป้องกันตัว และกีฬา คล้ายกับกีฬาของประเทศอื่น ๆ เช่น เทควันโดของเกาหลี คาราเต้ของญี่ปุ่น ฯลฯ และถ้าหากคุณสนใจในกีฬาประเภทนี้ และต้องการทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพื่อเป็น “ความรู้” ก่อนตัดสินใจแทงมวยออนไลน์ เราก็ได้ทำการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ มาให้คุณได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว ซึ่งจะมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน? ไปติดตามพร้อม ๆ กับเราได้เลย

 

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของ “มวยไทย”

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของ “มวยไทย”

สำหรับคนที่ต้องการทราบ “ไทม์ไลน์” ของกีฬามวยไทยแบบคร่าว ๆ เราได้รวบรวมมาให้เรียบร้อยแล้ว รับประกันได้เลยว่าคุณจะไม่พลาดช็อตเด็ดของมวยไทยในอดีตแม้แต่ช็อตเดียว แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เริ่มต้นครั้งแรกจากสมัยไหน และมีอะไรเกิดขึ้นกับกีฬามวยของไทยบ้าง เรารวบรวมมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว ไปทำความเข้าใจกันเลย!

 

  1. “พระเจ้าเสือ” หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 โปรดปรานการชกมวยอย่างมาก จนถึงขั้นปลอมตัวเพื่อชกมวยกับชาวบ้าน และชนะคู่ต่อสู้ถึง 3 คน (มีระบุไว้ในหนังสือศิลปะมวยไทย ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ) ได้แก่ นายกลาง (หมัดตาย), นายใหญ่ (หมัดเล็ก) และนายเล็ก (หมัดหนัก) ซึ่งทั้งสามเป็นนักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญ

ด้วยความโปรดปรานดังกล่าว ส่งผลให้มีการฝึกมวยในพระราชสำนักอย่างแพร่หลาย จนขยายไปสู่บ้านและวัด ซึ่งถือเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยอย่างดี และนักมวยเด่น ๆ มากฝีมือในยุคหลัง ๆ ก็เกิดจากการฝึกฝนกับพระสงฆ์ในวัด ที่เป็นขุนศึกเก่าแทบทั้งสิ้น

 

  1. นักมวยที่มีฝีมือเก่งกาจจะมีโอกาสได้รับราชการ และมีความก้าวหน้าสูง โดยเฉพาะการเป็นทหารในส่วนราชการ ที่ในสมัยก่อนเรียกกันว่า “ทนายเลือก” ซึ่งเป็นกรมที่ดูแลนักมวยโดยเฉพาะ ประกอบกับมีหน้าที่พิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้แก่พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น

 

  1. ครั้งที่ “นายขนมต้ม” ถูกจับเป็นเชลย เมื่อปี พ.ศ.2310 พม่าได้จัดงานเฉลิมฉลองชัยชนะหลังจากที่ทำศึกสงครามกับไทย และสุกี้พระนายกองได้คัดเลือกนายขนมต้ม ให้ขึ้นชกกับนักมวยพม่า จนสามารถเอาชนะได้มากถึง 10 คน ตามที่ รังสฤษฏิ์ บุญชลอ เคยกล่าวเอาไว้ว่า “พม่าแพ้พ่ายให้กับนายขนมต้มหมดทุกคน พระเจ้ากรุงอังวะถึงกลับชมเชยว่า แม้คนไทยจะไม่มีอาวุธอยู่ในมือ ก็ยังมีพิษสงรอบตัว” (หมายความว่านักมวยไทยมีฝีมือที่ได้รับการยอมรับ)

 

  1. ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็น “เจ้าเมืองตาก” มีทหารเอกคู่ใจที่มีความสามารถด้านมวยไทยอย่างมาก (อยู่แนวหน้าของทนายเลือก) ซึ่งก็คือ นายทองดี ฟันขาว (จ้อย) ชาวเมืองพิชัย ซึ่งต่อมาได้เป็น “พระยาพิชัยดาบหัก” เจ้าเมืองพิชัยนั่นเอง

 

และทั้งหมดนี้ก็คือไทม์ไลน์ของมวยไทย ที่เริ่มตั้งแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากมายนัก จนกระทั่งมีนักมวยมากฝีมือ มียศมีศักดิ์มากมาย แถมกีฬามวยไทยยังคงได้รับการชื่นชม และได้รับความสนใจต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะมีท่าไม้ตายที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ที่กำลังคืบคลานเข้ามาได้เป็นอย่างดีด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเสี่ยงโชคจากการ “แทงมวย” ได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งในส่วนนี้ก็มีจุดเริ่มต้นมาเป็นเวลานานแล้วเช่นเดียวกัน แต่จะถือกำเนิดตั้งแต่รัชกาลไหนเป็นรัชกาลแรก ในส่วนนี้ประวัติศาสตร์ไม่สามารถชี้ชัดได้

 

จากมวยไทยมุ่งสู่ “กีฬาต่อสู้เพื่อป้องกันตัว” ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

จากมวยไทยมุ่งสู่ “กีฬาต่อสู้เพื่อป้องกันตัว” ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

มวยไทยได้รับการพัฒนามากกว่าเมื่อก่อน ด้วยการจัดให้มีการชกมวยแบบสวมนวมชก และนับคะแนนแพ้ชนะ รวมถึงมีการกำหนดยกเช่นเดียวกับมวยสากล รวมถึงมีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายค่าย มีนักมวยที่มีชื่อเสียงหลายคน ในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 6) “เจ้าเชตุ” ได้ตั้งสนามมวยในที่ดินของตัวเอง เพื่อนำรายได้จากมวยไทยไปบำรุงกิจการทหาร แต่ก็ต้องหยุดไปเพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง การแข่งขันมวยไทยก็กลับมาได้รับความนิยม และเฟื่องฟูอีกครั้ง เนื่องจากประชาชนในสมัยนั้นยังไม่ความสนใจอย่างล้นหลาม

ในเวลาต่อมากีฬามวยไทยได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จนได้มีการจัดตั้ง “สมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” ด้วยการกำหนดให้การชกมวยไทยจำเป็นจะต้องมีเครื่องป้องกันอันตราย ทำให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแข่งมวยไทยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการถ่ายทอดสดการชกมวยทางรายการโทรทัศน์มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงต่างจังหวัดที่มีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายแห่ง ส่งผลให้ธุรกิจมวยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้นักมวยมากฝีมือที่เป็นคนต่างจังหวัด มีโอกาสเข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น

 

จุดเริ่มต้นของ “การชกมวยอาชีพ” ถือกำเนิดนักมวยชื่อดังมากมาย

จุดเริ่มต้นของ “การชกมวยอาชีพ” ถือกำเนิดนักมวยชื่อดังมากมาย

จุดเริ่มต้นของการชกมวยอาชีพ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2488 ด้วยการจัดตั้งสนามมวยราชดำเนินขึ้น รวมถึงมีนักมวยที่มีชื่อเสียงหลายคนเดินทางมาชกมวยเป็นจำนวนมาก โดยมีความพิเศษคือ “สามารถชกมวยข้ามรุ่นได้” และในเวลาต่อมา (วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2499) สนามมวยลุมพินีได้เปิดขึ้นอีกแห่ง โดยทั้ง 2 สนามนี้ถือเป็น “สนามมวยมาตรฐานของประเทศไทย” จากการจัดแบ่งประเภทนักมวยเป็นรุ่นต่าง ๆ ตามน้ำหนักตัว

นอกจากนี้ยังเป็นการถือกำเนิดของ “กติกามวยไทยอาชีพ” ฉบับ พ.ศ.2498 ซึ่งแก้ไขและปรับปรุงมาจาก ฉบับ พ.ศ.2480 ของกรมพลศึกษา สำหรับการถ่ายทอดสดการชกมวยไทยจากสนามมวยราชดำเนินครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2498 หลังจบการแข่งขันทำให้ชาวต่างชาติเดินทางมาฝึกมวยไทย และได้ทำการจัดแข่งขันมวยไทยอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน และไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงแม้แต่น้อย

 

ศิลปะและแก่นแท้ของมวยไทย กำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา

ศิลปะและแก่นแท้ของมวยไทย กำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการชกมวยในปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่เพียงความสนุกสนาน และความตื่นเต้นเฉกเช่นเมื่อก่อน เนื่องจากมี “ผลแพ้ชนะ และผลประโยชน์” เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย จนทำให้ศิลปะและแก่นแท้ของกีฬามวยไทย กำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่ก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ปัจจุบันได้มีการเรียนมวยไทยในระดับบัณฑิตศึกษา อย่าง “วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนโบราณ” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยได้มีการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขามวยไทย ในปี พ.ศ.2546
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามวยไทยศึกษา ในปี พ.ศ.2548
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขามวยไทยศึกษา (ปัจจุบันได้มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จึงได้มีการยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต)

 

ซึ่งหลักสูตรต่าง ๆ ส่งผลให้มวยไทยเริ่มพัฒนาเข้าสู่วิชาการเรียนการสอน เพื่อการอนุรักษ์และแสวงหาคุณค่าทางภูมิปัญญาไทยมากยิ่งขึ้น โดยมีคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ดร.ศักดิ์ชัย ทัพสุวรรณ นายกสมาคมสภามวยไทยสมัครเล่นโลก, ดร.แสวง วิทยพิทักษ์ กรรมการเทคนิคผู้ตัดสินมวยไทย จากสนามมวยราชดำเนิน และท่านอื่น ๆ อีกมากมาย  มาช่วยกันสร้างสรรค์จรรโลงให้องค์ความรู้ของบรรพบุรุษที่มีมานานนับ 2,000 ปี ยั่งยืนตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

เป็นอย่างไรกันบ้าง? สำหรับประวัติความเป็นมาของ “มวยไทย” นับเป็นมีจุดเริ่มต้นมาอย่างยาวนาน และมีความน่าสนใจมากเลยใช่ไหมล่ะ? นอกจากจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยแล้ว คุณยังสามารถนำมาเป็นศิลปะป้องกันตัว ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย แต่แนะนำให้เรียนรู้การออกกระบวนท่าต่าง ๆ ให้ถูกวิธี เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เจ็บตัวได้ง่าย ๆ นอกจากนี้หากคุณต้องการ “หารายได้เสริม” ก็สามารถแทงมวยออนไลน์ตามเว็บต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ ขอบอกเลยว่าแต่ละเว็บให้อัตราการจ่ายเงินรางวัลสูงมาก ช่วยพลิกชะตาชีวิตของคุณให้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ

 

อ้างอิง

ประวัติกีฬามวยไทย
http://it.udontech.ac.th/natee/work2-1/HTML/WorkM/6029010016/page1.html